สถาบันการเงินคืออะไร ระบบสถาบันการเงินในประเทศไทยนั้นมีอะไรบ้าง

มารู้จักกับสถาบันการเงินให้มากขึ้นกัน

เมื่อพูดถึงสถาบันการเงินอาจเป็นคำที่คุ้นเคย แต่รายละเอียดของสถาบันทางการเงินในความหมายของหลาย ๆ คนอาจยังไม่ชัดเจน ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับความหมายของสถาบันการเงินให้มากขึ้นกันดีกว่า เพราะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์เมื่อคุณต้องการวางแผนการเงินได้

สถาบันการเงินคืออะไร

สำหรับสถาบันการเงิน คือ ระบบที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ สถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อทั้งการระดมทุน จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งให้บริการด้านการเงินและการชำระเงิน ดังนั้นเมื่อสถาบันการเงินในประเทศไทยแข็งแกร่งก็จะมีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตมากขึ้นได้ และยังเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศอีกด้วย

สถาบันการเงินมีประเภทไหนบ้าง

เมื่อได้รู้กันแล้วว่าสถาบันการเงินคืออะไร เรามารู้จักกับประเภทของสถาบันการเงินกันต่อดีกว่า เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพราะนอกจากสถาบันการเงินมี 2 ประเภทคือ รับฝากเงินและไม่รับฝากเงิน ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 7 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. ธนาคารกลาง

ธปท. มีหน้าที่ในการดูแลการเงินและระบบต่าง ๆ ภายในประเทศ เป็นเหมือนด่านแรกที่เหล่าธุรกิจการเงินต้องผ่านมาตรฐาน และดำเนินการเพื่อให้ถูกกฎหมาย

2. ธนาคารพาณิชย์

สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์จะทำการจดทะเบียนในประเทศ เน้นการให้บริการรับฝากและปล่อยกู้ โดยมีระบบที่ช่วยลดความเสี่ยงให้กับทั้งคนฝากเงินและคนมากู้ เป็นการเพิ่มเงินหมุนเวียนให้ระบบเศรษฐกิจอย่างถูกต้อง

3. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

สำหรับธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และอื่น ๆ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ จะอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะ ให้บริการรับฝากและปล่อยกู้แต่มาพร้อมเงื่อนไขที่ดีกว่าแบบพาณิชย์

4. บริษัทประกันชีวิต 

ถือเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ให้บริการออมเงินคู่กับการให้ความคุ้มครองในระยะเวลาที่ตกลง ซึ่งจะมีการจ่ายเบี้ยประกัน หากมีการเจ็บป่วยหรือเข้าเงื่อนไขผู้จ่ายเบี้ยก็จะได้รับเงินดูแล

5. โรงรับจำนำ

แม้ว่าจะไม่ใช่ธนาคารแต่ก็เป็นการให้กู้ยืมอย่างถูกกฎหมาย เพื่อช่วยเหลือเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ที่เข้ามาจำนำ เหมาะกับการใช้เงินระยะสั้น

6. สถาบันการเงินอื่น ๆ

ในส่วนนี้สถาบันการเงินได้แก่บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และอีกมากมาย ถ้าอยู่ภายใต้กฎหมายและไม่อยู่ในตัวเลือกอื่นก็จะถูกจัดมาไว้ในนี้ ส่วนใหญ่เน้นรับฝากเงิน และกู้เงินประชาชนมาปล่อยให้กลุ่มธุรกิจ

7. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 

ทำหน้าที่เก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จากเงินที่รับฝาก มาเก็บไว้เป็นกองกลาง เพื่อสำรองจ่ายให้กับผู้ฝากเงินในเคสที่สถาบันการเงินเกิดประสบปัญหาขึ้น หรือจะนิยามว่าเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคก็ได้เช่นกัน

สถาบันการเงินแบบไหนที่อยู่ใต้กำกับของ ธปท.

หลังจากได้เห็นกันแล้วว่าสถาบันการเงินมีอะไรบ้าง เรามาดูกันว่าสถาบันการเงินแบบไหนที่จัดว่าถูกกฎหมาย ได้รับการรับรองจาก ธปท.

  • ธปท. กำกับและตรวจสอบ

เจ้าไหนที่จัดว่าเป็นเอกชนถ้าคุณต้องการใช้งานสินค้าทางการเงินที่ถูกกฎหมายต้องมีการตรวจสอบและรับรองจาก ธปท. การันตี

  • ธปท. ตรวจสอบตามรับมอบหมาย

ในปัจจุบันจะหมายถึงบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือที่พวกเราเอาไว้ตรวจสอบเครดิตบูโรกันนั่นเอง

เราได้เห็นจุดเด่นพร้อมทั้งความหมายของสถาบันการเงินกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าข้อมูลในส่วนนี้จะทำให้คุณเข้าใจเรื่องการเงินที่ถูกกฎหมาย พร้อมทั้งเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกันมากขึ้นแน่นอน

Scroll to Top